เทนเซ็นต์ แนะธุรกิจควร disturb ตัวเอง การพัฒนานวัตกรรมช่วยให้เปิดตลาดใหม่ หาลูกค้าใหม่ และบริการใหม่
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมกับ ผู้บริหารระดับสูงจากธุรกิจที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาทิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี (ประเทศไทย) ผู้ดำเนินกิจการ Garena Air Pay และ Shopee, กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิลค์ เอเชีย (จำกัด) และ ผู้ก่อตั้ง Builk.com แพลทฟอร์มสำหรับกิจการก่อสร้าง และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์เน็ต เบส บิซิเนส กรุ๊ป จำกัด ผู้ให้บริการ Zanroo ระบบมอนิเตอร์บนสื่อสังคมออนไลน์
ในการเสวนา ผู้บริหารแต่ละท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม ในธุรกิจ , พัฒนาการของธุรกิจของแต่ละบริษัทจนมาถึงปัจจุบัน และ แนะนำการเปลี่ยนผ่านธุรกิจในยุคที่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาสู่ยุคดิจิทัล จากประสบการณ์ที่ แต่ละธุรกิจประสบมา
คุณกฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง การทำงานของ เทนเซ็นต์ ประเทศไทย ว่า บริษัทเป็นผู้พัฒนาแพลทฟอร์ม เพื่อช่วยให้ธุรกิจผลิตเนื้อหาที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้ รวมถึงที่มีในปัจจุบัน สามารถก้าวผ่านไปสู่ยุคของธุรกิจดิจิทัล และ ธุรกิจออนไลน์ได้ โดยไม่ควรจะ disturb หรือ เบียดเบียนธุรกิจเหล่านั้น เทนเซ็นต์ มีแพลทฟอร์ม ด้าน ข่าวและเว็บท่า ได้แก่ sanook! และ NoozUP ซึ่ง เทนเซ็นต์ พัฒนาขึ้น เพื่อให้ กิจการด้าน ข่าวแบบดั้งเดิมสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้โดยแพลทฟอร์มของเรา ช่วยทำให้พันธมิตรด้านเนื้อหาของเรา สามารถกระจายผลงานไปยังผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น , แพลทฟอร์มสำหรับความบันเทิง ได้แก่ JOOX ซึ่งช่วยให้อุตสาหกรรมเพลง สามารถก้าวเข้ามาสู่ยุคการฟังเพลงดิจิทัลได้ และ VOOV เป็นวิดีโอแพลทฟอร์ม ทั้งแบบคลิปสั้น และ แบบถ่ายทอดสด มีส่วนช่วยให้ นักคิด นักสร้างสรรค์ มีพื้นที่แสดงออก และ สามารถพัฒนาเป็นอาชีพ video creator ต่อได้
สำหรับคำแนะนำเรื่องของการ disturb นั้น ธุรกิจต่างๆควรจะ disturb ตัวเองมากกว่า เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และ อยู่รอดท่ามกลาง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
ในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมนั้น คุณกฤตธี กล่าวว่า นวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของเทคโนโลยี นวัตกรรม คือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ธุรกิจควรมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการ
- ดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เช่น บริษัท ไมโครซอฟท์ หาตลาดใหม่ๆ จากการพัฒนา ซอฟท์แวร์ชุด ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ เพื่อให้คนได้นำมาใช้บน เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ธุรกิจเครื่องคอมพิวเตอร์ของเค้าเติบโตประสบความสำเร็จได้
- เปิดธุรกิจใหม่ เช่น บริษัท Apple จาก ที่บริษัทผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เพิ่มผลิตภัณฑ์ อื่นๆ เช่น iPod , iPhone จนมาถึง Apple TV , หรือ อย่างเช่น บริษัท Toyota ขยายตลาดของตัวเองจากบริษัทผลิตรถยนต์ เข้าไปลงทุนในธุรกิจ เรียกรถบริการผ่านแอปพลิเคชัน Grab ซึ่งเป็นการขยายจากอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมการให้บริการ และ
- ขยายตลาด เช่น ค่ายการ์ตูน DC หรือ Detective Comics และ Marvel ได้ขยายจากตลาดการ์ตูนที่เป็นรูปเล่ม ไปสู่ภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่ง ทำให้เนื้อหาการ์ตูนที่พวกเค้าถือลิขสิทธิ์อยู่สามารถ เปลี่ยนรูปแบบเป็น ภาพยนตร์ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก เป็นต้น
สำหรับการเสวนาครั้งนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานสัมมนาวิชาการประจำปี จัดโดย สมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) จัดขึ้น วันที่ 19 กันยายน 2561 ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ